ทำไมพลาสติกถึงน่ากลัวกว่าผี? 5 สารจากอุตสหกรรมการผลิตพลาสติกที่อาจทำให้เราป่วยจนสู่ขิตได้

Last updated: 25 มิ.ย. 2567  | 

ทำไมพลาสติกถึงน่ากลัวกว่าผี? 5 สารจากอุตสหกรรมการผลิตพลาสติกที่อาจทำให้เราป่วยจนสู่ขิตได้

ประเทศไทยและประเทศอื่นๆในเอเชียนั้นมีเรื่องชวนขนหัวลุกให้เราได้รับฟังและรับชมมากมายไม่ขาดสาย ผู้คนมากมายมักถกเถียงกันว่าผีประเทศอะไรน่ากลัวและดุร้ายจนถึงชีวิตที่สุด!! บ้างก็ว่าประเทศนู้น บ้างก็ว่าประเทศนี้ หารู้ไม่สิ่งที่น่ากลัวและพรากชีวิตของเราไปอย่างไม่ทันตั้งตัวนั้นไม่ใช่ผีสางนางไม้ตนไหน แต่คือพลาสติกที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้

ในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสสติกในปัจจุบันสร้างมลพิษทางอากาศมากมายเช่น ฝุ่น หรือสารระเหย เมื่อพนักงานที่อยู่ในกระบวนการการผลิตได้รับสารเข้าไปจึงเกิดอันตรายต่อระบบต่างๆได้ ซึ่งพลาสติกนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1. เทอร์โมพลาสติก เป็นพลาสติกที่หลอมเหลว/อ่อนตัวเมื่อความร้อนหรือแรงอัด ดังนั้นจึงเปลี่ยนรูปร่างรูปทรงให้กลับมาใช้ใหม่ได้
2. เทอร์โมเซทพลาสติก จะคงทนกว่าเทอร์โมพลาสติกเพราะต้องใช้ความร้อนหรือแรงอัดจึงจะเกิดปฏิกิริยาได้ ดังนั้นจึงมีรูปทรงถาวร


สารจากเทอร์โมพลาสติก 
โพลิเอทิลีน และโพลีโพรพิลีน

โพลิเอทิลีน ใช้ทำฟิลม์ สารเคลือบผิว ภาชนะบรรจุอาหาร ฯลฯ
โพลีโพรพิลีน ใช้ทำถุงร้อน เชือก กระบอกฉีดยา ฯลฯ
- อาจแทนที่ออกซิเจนทำให้ขาดอากาศหายใจ 
- โลหะอินทรีย์ที่ใช้เร่งปฏิกริยาเป็นสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างแรง

 

โพลิไวนิลคลอไรด์
ใช้ทำท่อน้ำ สารไฟฟ้า สารเคลือบสายเคเบิ้ล กระเบื้องยาง ถ้วย ขวดน้ำมัน ฯลฯ
หากโดนฝุ่นจะเป็นโรคปอดจากฝุ่นและประสิทธิภาพการทำงานของปอดก็จะลดลงได้
หมั่นการตรวจเอ็นไซม์ของตับ และวัดประสิทธิภาพการทำงานของปอด


โพลิสไตรีน
- ทำของเล่นเด็ก จาน ถ้วย 
- เมื่อได้รับสไตรีนจะการทำงานของร่างกายจะไม่ประสานกัน มีอาการมึนงง หากมีความเข้มข้นสูงก็จะยิ่งระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ การสัมผัสสารจะทำให้ผิวหนังแห้ง เมื่อได้รับเป็นเวลานานจะทำให้ ตับ ประสาทส่วนกลางและส่วนปลายได้รับอันตราย และอาจทำอันตรายต่อโครโมโซมได้



สารจากเทอร์โมเซทพลาสติก 


ฟีโนลิกเรซิน (Phenolic resin)
ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า ด้ามมือจับหูหม้อ หูกระทะ และใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้าง เช่น ไม้ประดับ ไม้อัด กาว ไม้อัดกันน้ำ
ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ และผิวหนัง 
ดูดซึมผ่านผิวหนังได้ ก่อให้ผิวหนังอักเสบ
ถ้าได้รับในปริมาณสูงจะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า น้ำหนักลด และเป็นอันตรายต่อตับ 
ฝุ่นที่เกิดจากการบดเรซินจะทำอันตรายต่อปอดและทำให้เกิดโรคปอดจากฝุ่น 


อีพอกซีเรซิน (epoxy resins)
วัสดุเคลือบผิว ใช้เคลือบโลหะ ไม้ และพลาสติกอื่นๆ ใช้ทำสี กาว
อาจเกิดการแพ้หลังจากสัมผัสอีพอกซีแล้วสักระยะ  และทำให้ระบบทางเดินหายใจไวต่อสิ่งกระตุ้น ระคายเคืองตา ระบบทางเดินหายใจและผิวหนัง

รู้แบบนี้แล้ว นอกจากจะมูขอพรพระให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็อย่าลืมหยิบแมสมาใส่ระหว่างทำงานและช่วยกันลดการใช้พลาสติกคนละนิดด้วยนะคะะ ไม่อย่างนั้นเราอาจกลายเป็นกุ๊กกู๋ซะเอง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/bulletin/bul99/v7n1/Monomer
https://ngthai.com/science/43951/thermoplastics/ 
https://designtechnology.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/83/2018/12/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81.pdf 



Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้